การตรวจรักษาอาการหวัด คัดจมูก น้ำมูกไหล ไซนัส

การตรวจรักษาอาการหวัด คัดจมูก น้ำมูกไหล ไซนัส

ประชาชนทั่วไปสามารถที่จะเรียนรู้การเป็นหมอรักษาตนเองและญาติมิตรได้ โดยเฉพาะโรคภัยไข้เจ็บที่พบอยู่บ่อยๆ
ส่วนใหญ่ (ร้อยละ70-80) จะรักษาได้ โดยไม่ต้องใช้เครื่องมือพิเศษพิสดารอะไร วันนี้จะมานำเสนอเพื่อชี้แจงวิธี
ที่จะเรียนรู้การดูแลรักษาตนเองและผู้อื่น

การตรวจรักษาอาการหวัด คัดจมูก น้ำมูกไหล ไซนัส
แม้ว่าจะได้กล่าวถึงการตรวจรักษา “อาการหวัด คัดจมูก น้ำมูกไหล ไซนัส” มาในครั้งก่อนๆ แล้ว แต่ก็ยังมีคนที่อยากรู้รายละเอียดและเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเพิ่มเติม จึงขอกล่าวเรื่องนี้ต่ออีกหน่อย

เพราะอาการหวัด คัดจมูก น้ำมูกไหล ไซนัสนี้ เป็นกันมากและเป็นกันบ่อย โดยเฉพาะในระยะที่อากาศเปลี่ยน เช่น เปลี่ยนจากร้อนเป็นหนาว จากหนาวเป็นร้อน หรือจากร้อนเป็นฝน เป็นต้น

ดังที่ได้กล่าวไว้ในตอนต้น (ในหมอชาวบ้าน ฉบับที่ 80) ว่าคนที่มีอาการหวัด (คือ มีอาการครั่นเนื้อ ครั่นตัว) หนาว
ผิดปกติหนาวๆ ร้อนๆ หรือตัวร้อน (อาการไข้) และมีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล ปวดเมื่อยตามตัวหรือศีรษะ เจ็บคอ
ไอ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร หรืออื่นๆ ) อาจเป็นโรคหวัดธรรมดา (Common Coldหรือcoryza) ไข้หวัดใหญ่ (influenza)
หรือเป็นอาการของโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสอื่นๆ เช่น โรคหัด (measles) โรคเหือดหรือหัดเยอรมัน (german measles)
โรคอีสุกอีใส (chicken pox) โรคตับอักเสบจากเชื้อไวรัส (viral hepatitis) หรืออื่นๆ

เนื่องจากในปัจจุบัน ยังไม่มียาที่ใช้ฆ่าเชื้อไวรัสในร่างกายของมนุษย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การรักษาโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสจึงเป็นการรักษาตามอาการเท่านั้น นั่นคือ ถ้ามีไข้สูงมากหรือปวดเมื่อยมาก ก็กินยาลดไข้ แก้ปวด ถ้าคัดจมูก น้ำมูกไหล ก็กินยาแก้คัดจมูก น้ำมูกไหล เป็นต้น ดังที่กล่าวไว้ในครั้งก่อนๆ

ดังนั้น แม้ว่าคนที่มีอาการคล้ายหวัด แล้วต่อมาปรากฏว่า เป็นโรคหัด โรคเหือด โรคอีสุกอีใส โรคตับอักเสบ หรืออื่นๆ การรักษาโรคหวัดตามอาการดังที่กล่าวมาแล้วก็จะไม่มีอันตรายใดๆ เพราะถึงจะเป็นโรคหัด โรคเหือด โรคอีสุกอีใส โรคตับอักเสบ หรืออื่นๆ ก็ให้การรักษาแบบเดียวกัน คือให้การรักษาตาอาการเท่านั้น ไม่มียาที่จะใช้รักษาโดยเฉพาะได้

ในคนที่เป็นโรคจากเชื้อไวรัสเช่นนี้ นอกจากการรักษาตามอาการแล้ว ก็ต้องพักผ่อนและรักษาความอบอุ่นของร่างกายไว้ (ยอมร้อนและเหงื่อออกดีกว่ายอมหนาว) เพราะถ้าไม่พักหรือร่างกายถูกอากาศเย็น น้ำเย็น ฝน หรืออื่นๆ จะทำให้เกิดโรคแทรก (ภาวะแทรกซ้อน) เช่น ปอดบวม (ปอดอักเสบ) หลอดลอักเสบ โรคเดิมทรุดหนักลงได้ง่าย เป็นต้น

นอกจากนั้นคนที่เป็นโรคจากเชื้อไวรัสเช่นนี้ จะต้องป้องกันไม่ให้เชื้อโรคที่มีอยู่ในร่างกายของตนไปติดผู้อื่น ทำให้ผู้อื่นเป็นโรคด้วย เพราะเชื้อไวรัสมักจะติดต่อง่าย เช่น ทางน้ำมูก น้ำลาย น้ำตา น้ำเหลือง เลือด อุจจาระ

 

Cr. หมอชาวบ้าน
ภาพประกอบจาก palmbeachsinus.com

Recent Post

icon-%e0%b9%80%e0%b8%a7%e0%b9%87%e0%b8%9a-aqua-maris-05-9-598icon-%e0%b9%80%e0%b8%a7%e0%b9%87%e0%b8%9a-aqua-maris-05-9-599icon-%e0%b9%80%e0%b8%a7%e0%b9%87%e0%b8%9a-aqua-maris-05-9-5910icon-%e0%b9%80%e0%b8%a7%e0%b9%87%e0%b8%9a-aqua-maris-05-9-5911icon-%e0%b9%80%e0%b8%a7%e0%b9%87%e0%b8%9a-aqua-maris-05-9-5912icon-%e0%b9%80%e0%b8%a7%e0%b9%87%e0%b8%9a-aqua-maris-05-9-5913icon-%e0%b9%80%e0%b8%a7%e0%b9%87%e0%b8%9a-aqua-maris-05-9-5914

Sharing

Facebooktwitterredditpinterestlinkedinmail

Follow Us

Facebooktwitterlinkedinrssyoutube