การแก้ปัญหา PM 2.5 ของประเทศอื่น

การแก้ปัญหา PM 2.5 ของประเทศอื่น

รูปประกอบจาก hilight.kapook.com


หลายคนที่ติดตามข่าว คงพอจะรู้ว่าฝุ่นพิษโดยเฉพาะ PM 2.5  เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ และแน่นอนว่าในแต่ละสาเหตุ แต่ละพื้นที่ต้องใช้วิธีแก้ที่แตกต่างกัน วันนี้เรามาดูมาตรการลดควันพิษของบางประเทศกัน


จีน
มีหลายมาตรการ ทั้งที่ประสบความสำเร็จและไม่สำเร็จ เช่น การรณรงค์ให้ลดการทำอาหารปิ้งย่าง ของทอด ซึ่งไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร (ข้อมูลจาก workpointnews.com) ในขณะที่การออกมาตรฐานจำกัดการปล่อยมลพิษจากโรงงานอุตสาหกรรม โดยมีมาตรการลงโทษอย่างจริงจังกับประสบความสำเร็จ โดยมีการปรับและปิดโรงงานที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานกว่า 2,500 โรงงาน (ข้อมูลจาก www.facebook.com/WorkpointNews) นอกจากนี้ บริษัทใหญ่ ๆ ยังต้องเขียนแผนการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่าที่สุด โดยให้อำนาจรัฐบาลท้องถิ่นในการตรวจตราและทำโทษ ตลอดจนมีการลงทุนสร้างพลังงานไฟฟ้าจากแสงแดดและพลังงานลม เท่าที่ควร มีการรณรงค์ให้ใช้รถยนต์ไฟฟ้า โดยให้สิทธิพิเศษต่าง ๆ กับผู้ซื้อ มีนโยบายตรึงราคาน้ำมันให้สูงเพื่อให้การใช้พลังงานน้ำมันของประชากรลดต่ำลง (ข้อมูลจาก workpointnews.com)


อินเดีย
รัฐบาลอินเดียแก้ปัญหาการจุดเตาไฟด้วยการแจกแก๊ส LPG ให้ชาวบ้านหลายล้านคน (ข้อมูลจาก www.cogitasia.com) มีมาตรการควบคุมการเล่นดอกไม้ไฟตามเทศกาลต่าง ๆ มีการรณรงค์ให้เกษตรกรใช้การไถกลบ เพื่อลดการเผาวัสดุทางการเกษตร มีการขอความร่วมมือกับภาคธุรกิจให้ช่วยซื้อเศษฟางข้าว มีการแต่งเพลงชักชวนให้เกษตรกรหยุดเผา (ข้อมูลจาก workpointnews.com)

สำหรับที่เมืองหลวง ยังมีการสั่งให้รถบริการสาธารณะเปลี่ยนมาใช้พลังงานแก๊ส CNG พร้อมกันนี้ก็จัดให้สร้างสถานีแก๊สทั่วเมือง นอกจากนี้ ยังมีการสนับสนุนให้คนออกมาปั่นจักรยานมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การต่อรองกับภาคธุรกิจถึงมาตรการด้านสิ่งแวดล้อม ยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เนื่องจากรัฐบาลเองก็ต้องการรักษากำลังการผลิตของภาคเอกชนไว้ (ข้อมูลจาก www.facebook.com/WorkpointNews)


ฟิลิปปินส์
มีการออกกฎหมายในระดับครัวเรือน (Ecological Solid Waste Management) เพื่อลดการเผาขยะ โดยกำหนดโทษสำหรับการเผาขยะในหลายพื้นที่ นอกจากนี้ ยังมีมาตรการสำหรับการแก้ปัญหาฝุ่นควันจากไฟป่าและการเผาวัสดุการเกษตรอีกด้วย (ข้อมูลจาก www.facebook.com/WorkpointNews)


สิงคโปร์/มาเลเซีย มีการจัดทำโร้ดแมป “ข้อตกลงอาเซียนเรื่องปัญหาหมอกควันข้ามแดน” ระหว่างมาเลเซีย สิงคโปร์และอินโดนีเซีย เพื่อป้องกันปัญหาหมอกควันจากไฟป่าที่พัดมาจากอินโดนีเซีย จากการลักลอบเผาป่าในเกาะบอร์เนียวและสุมาตราเพื่อเคลียร์หน้าดินทำเกษตรกรรม (ข้อมูลจาก www.facebook.com/WorkpointNews)


เยอรมัน
ประเทศเยอรมันมีระบบขนส่งสาธารณะที่มีประสิทธิภาพ บางเมืองคนมีรถจะน้อยกว่าคนใช้ขนส่งสาธารณะอีก นอกจากนี้ ยังมีมาตรฐานการผลิตรถสาธารณะที่สูง โดยมีการระบุว่ารถยนต์ที่จะวางขายในพื้นที่ได้ต้องผ่านมาตรฐานไอเสียระดับ “Euro 6” แล้วเท่านั้น เทียบกับประเทศไทยจะผ่านที่ระดับ “Euro 4” ก็สามารถใช้ได้แล้ว นอกจากนี้ ยังมีการมอบเงินสนับสนุนให้แก่ผู้ซื้อรถยนต์ไฟฟ้า โดยบางแห่งอำนวยความสะดวกเรื่องจุดชาร์จไฟและที่จอดรถพิเศษด้วย (ข้อมูลจาก workpointnews.com)


ญี่ปุ่น
กระบวนการตรวจสอบรถยนต์เก่าของกรุงโตเกียวมีประสิทธิภาพมาก โดยหากรถยนต์นั้นไม่ผ่านการตรวจสอบจะไม่สามารถวิ่งบนถนนได้ เพราะจะมีการตรวจเช็กอยู่ตลอดเวลา ในขณะที่บางเมืองมีการออกแบบผังเมืองให้เป็นเมืองที่มีขนาดกะทัดรัด และอำนวยความสะดวกให้ประชากรด้วยรถราง นอกจากนี้ ญี่ปุ่นยังมีเงินสนับสนุนให้แก่ผู้ซื้อรถยนต์ไฟฟ้าด้วย (ข้อมูลจาก www.facebook.com/WorkpointNews)

 

นอกจากนี้ ในบางเมืองยังมีการควบคุมปริมาณรถที่วิ่งเข้าเมือง เช่น จัดวันวิ่งเข้าเมืองตามเลขทะเบียนคู่-คี่ เก็บเงินค่านำรถเข้าในพื้นที่ใจกลางเมือง การสนับสนุนการใช้รถไฟฟ้าในหลากหลายรูปแบบ เช่น การงดภาษีรถยนต์หรือค่าใช้จ่ายรายปี (ข้อมูลจาก workpointnews.com)

ในเรื่องโรงงานผลิตไฟฟ้าจากถ่านหิน ซึ่งก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ หลาย ๆ ประเทศได้มีการปรับลด หรือทยอยปิดเป็นระยะ เช่น การตั้งเป้าลดการใช้พลังงานถ่านหินเหลือ 40% ในปี 2030 ของอินเดีย การตั้งเป้าลดการใช้พลังงานถ่านหิน 50% ของจีน รวมถึงการประกาศยกเลิกโรงไฟฟ้าถ่านหินทั้งหมดภายในปี 2525 ของรัฐบาลอังกฤษ (ข้อมูลจาก workpointnews.com)

สำหรับเมืองไทยปัจจุบัน ยังคงมีปัญหาควันพิษอยู่จากหลายสาเหตุ ซึ่งภาครัฐและประชาชนต้องหาแนวทางการแก้ไขต่อไป

 

มา “สุขใจเพราะเราเลือกดูแลกัน” ด้วยการรู้เท่าทัน “แก้ปัญหา PM 2.5 ของประเทศอื่น” เมื่อไอให้นึกถึงเฟลมเม็กซ์ และเมื่อรู้สึกระคายเคืองในลำคอให้นึกถึง Flemomile สเปรย์สำหรับช่องปากและลำคอนะคะ

 

 

Recent Post

icon-%e0%b9%80%e0%b8%a7%e0%b9%87%e0%b8%9a-aqua-maris-05-9-598icon-%e0%b9%80%e0%b8%a7%e0%b9%87%e0%b8%9a-aqua-maris-05-9-599icon-%e0%b9%80%e0%b8%a7%e0%b9%87%e0%b8%9a-aqua-maris-05-9-5910icon-%e0%b9%80%e0%b8%a7%e0%b9%87%e0%b8%9a-aqua-maris-05-9-5911icon-%e0%b9%80%e0%b8%a7%e0%b9%87%e0%b8%9a-aqua-maris-05-9-5912icon-%e0%b9%80%e0%b8%a7%e0%b9%87%e0%b8%9a-aqua-maris-05-9-5913icon-%e0%b9%80%e0%b8%a7%e0%b9%87%e0%b8%9a-aqua-maris-05-9-5914

Sharing

Facebooktwitterredditpinterestlinkedinmail

Follow Us

Facebooktwitterlinkedinrssyoutube