ทำความรู้จัก “ปอดอุดกั้นเรื้อรัง” อีกผลกระทบปริมาณฝุ่นเกินมาตรฐาน

ปอดอุดกั้นเรื้อรัง

หลาย ๆ คนคงยังไม่หายตระหนกตกใจกับสถานการณ์ฝุ่นขนาดเล็ก PM 2.5 ซึ่งหากใครอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ฝุ่นเยอะแบบนี้เป็นเวลานาน ๆ จะทำให้เสี่ยงในการได้รับผลกระทบกันไป เบื้องต้นเลยก็จะเป็นเรื่องของการไอ จาม คัดจมูก บางคนมีภูมิแพ้ก็จะมีการคันจมูก คันคออื่น ๆ วันนี้แอดมินจะมานำเสนอถึงผลกระทบที่ร้ายแรงกว่าการไอ จาม ผลกระทบนี้สามารถเกิดได้กับทุกคน นั่นคือ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง หรือ Chronic obstructive pulmonary disease, COPD ตามมาดูกันเลย

โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง มีอาการอย่างไร
ปอดอุดกั้นเรื้อรัง เป็นโรคที่ทำให้เกิดความบกพร่องอย่างเรื้อรังในการไหลเวียนของอากาศในระบบทางเดินหายใจ อาการที่พบได้บ่อย ได้แก่ ไอ หายใจถี่ หายใจลำบาก หายใจมีเสียงฮืด ๆ แน่นหน้าอก มีเสมหะมาก โดยในตอนแรกอาการอาจไม่รุนแรง ผู้ที่เป็นบางครั้งอาจเข้าใจผิดว่าเป็นหวัดได้ แต่กรณีปอดอุดกั้นเรื้อรังอาการจะไม่ดีขึ้น และจะหนักขึ้นเรื่อย ๆ จนอาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต หากได้รับการรักษาไม่ทัน

สาเหตุเกิดจากอะไรได้บ้าง
หลอดลม เนื้อปอด และหลอดเลือดปอดเกิดการอักเสบเสียหาย จากได้รับแก๊สหรือสารที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองเป็นเวลานาน ส่งผลให้หลอดลมค่อย ๆ ตีบแคบลง จนเกิดการอุดกั้น ไม่อาจฟื้นคืนสู่สภาพปกติได้อีก ทั้งนี้สาเหตุพบบ่อยที่สุดคือ การสูบบุหรี่ นอกจากนี้ยังเป็นเรื่องของมลพิษทางอากาศ โรคทางพันธุกรรม สำหรับประเทศกำลังพัฒนาพบเรื่องของมลพิษทางอากาศได้บ่อย จากการทำอาหาร ควันไฟ การก่อสร้างต่าง ๆ โดยการสัมผัสสิ่งระคายเคืองเหล่านี้ต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน จะกระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาการอักเสบขึ้นของอวัยวะในระบบทางเดินหายใจ ดังที่กล่าวมาข้างต้น

วินิจฉัยได้อย่างไร
แพทย์จะใช้การซักประวัติครอบครัว รูปแบบการใช้ชีวิต สอบถามอาการ ประวัติการเจ็บป่วย ร่วมกับการตรวจร่างกายและตรวจทางห้องปฏิบัติการอื่น ๆ ได้แก่ การตรวจสมรรถภาพปอดด้วยวิธี spirometry, การตรวจภาพรังสีทรวงอกหรือเอกซเรย์ปอด, การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan), การตรวจวิเคราะห์แก๊สในเลือดแดง (arterial blood gas) นอกจากนี้ ยังอาจมีการตรวจอื่น ๆ เพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ เช่น การตรวจเสมหะเพื่อวินิจฉัยการติดเชื้อ การตัดชิ้นเนื้อตรวจหามะเร็ง เป็นต้น

การรักษา
การรักษาเป็นเพียงการบรรเทาอาการ และลดโอกาสการเกิดภาวะแทรกซ้อนและปรับปรุงคุณภาพชีวิตโดยทั่วไป ให้ดีขึ้น การบำบัดด้วยออกซิเจนเสริมและการผ่าตัดเป็นวิธีการรักษาด้วยวัตถุประสงค์เดียวกัน ทั้งนี้ หากไม่ได้รับการรักษา อาการของโรคจะพัฒนาเร็ว ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตเป็นอย่างมาก และเสียชีวิตในที่สุด

ป้องกันได้อย่างไร
เราสามารถป้องกันได้ โดยการลดปัจจัยเสี่ยง เช่น หยุดหรือลดปริมาณการสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มีฝุ่นควันพิษการปรับปรุงคุณภาพของอากาศทั้งภายในและภายนอกของสถานที่ที่อยู่ประจำ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ที่กล่าวมาทั้งหมด เป็นสิ่งที่จำเป็น

 

 

Cr. healthandtrend.com, Wikipedia.com, Bumrungrad.com

 

 

Recent Post

icon-%e0%b9%80%e0%b8%a7%e0%b9%87%e0%b8%9a-aqua-maris-05-9-598icon-%e0%b9%80%e0%b8%a7%e0%b9%87%e0%b8%9a-aqua-maris-05-9-599icon-%e0%b9%80%e0%b8%a7%e0%b9%87%e0%b8%9a-aqua-maris-05-9-5910icon-%e0%b9%80%e0%b8%a7%e0%b9%87%e0%b8%9a-aqua-maris-05-9-5911icon-%e0%b9%80%e0%b8%a7%e0%b9%87%e0%b8%9a-aqua-maris-05-9-5912icon-%e0%b9%80%e0%b8%a7%e0%b9%87%e0%b8%9a-aqua-maris-05-9-5913icon-%e0%b9%80%e0%b8%a7%e0%b9%87%e0%b8%9a-aqua-maris-05-9-5914

Sharing

Facebooktwitterredditpinterestlinkedinmail

Follow Us

Facebooktwitterlinkedinrssyoutube