เดี๋ยวร้อนเดี๋ยวฝน อากาศเปลี่ยน จะเสี่ยงเป็นโรคอะไรบ้าง

เดี๋ยวร้อนเดี๋ยวฝน อากาศเปลี่ยน จะเสี่ยงเป็นโรคอะไรบ้าง

อากาศเดี๋ยวร้อน เดี๋ยวฝนอย่างช่วงนี้ เพื่อน ๆ หลายคนจำเป็นต้องดูแลตัวเองเป็นพิเศษ มาดูกันเลยค่ะ มีความเสี่ยงเป็นโรคอะไรกันได้บ้าง

  1. ไข้หวัด เป็นโรคที่พบได้บ่อย มักจะเป็น ๆ หาย ๆ ตลอดทั้งปี โดยจะมีอาการไอ จาม มีน้ำมูก คัดจมูก น้ำมูกไหล อาจมีไข้หรือไม่มีก็ได้ มักหายได้เองใน 5 - 7 วัน สำหรับการรักษา จะเน้นรักษาตามอาการ เช่น ให้ยาลดไข้ แก้หวัด ลดน้ำมูก ที่สำคัญผู้ป่วยต้องได้รับการพักผ่อนอย่างเพียงพอ ดื่มน้ำบ่อย ๆ และรักษาความอบอุ่นของร่างกาย ในส่วนของการป้องกัน เน้นการรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ โดยการพักผ่อนให้เพียงพอ กินอาหารที่มีประโยชน์ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  2. ไข้หวัดใหญ่ อาการรุนแรงกว่าไข้หวัด โดยมีไข้สูง ปวดศีรษะรุนแรง คัดจมูกหายใจไม่ออก เจ็บคอ ไอ และอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วย สำหรับการรักษา จะเน้นรักษาแบบเดียวกับไข้หวัด คือ ให้พักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำมาก ๆ อาจกินยาลดไข้ ยาแก้หวัด ยาลดน้ำมูก ยาคัดจมูก ยาลดอาการไอ ตามอาการ หากเป็นแล้วไม่ควรปล่อยจนลุกลาม เพราะหากมีอาการรุนแรง อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น ปอดอักเสบ จนเป็นสาเหตุทำให้อาการทรุด และอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ การป้องกันคือ การฉีดวัคซีนป้องกัน แต่เนื่องจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่มีหลายสายพันธ์ ทำให้มีโอกาสเป็นซ้ำในสายพันธุ์อื่นได้
  3. ท้องเสีย มีอาการถ่ายอุจจาระเหลว ถ่ายเป็นน้ำเกิน 3 ครั้งขึ้นไป หรือถ่ายเป็นมูกปนเลือด อาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น เป็นตะคริวที่บริเวณหน้าท้อง ปวดท้อง ท้องอืด คลื่นไส้ อ่อนเพลีย เป็นต้น หากมีอาการเกินกว่า 2 วันหรือมีอาการอื่นนอกเหนือจากนี้อาจปรึกษาแพทย์ สำหรับการรักษา ส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องมีการรักษาโดยเฉพาะ ควรดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อชดเชยน้ำและเกลือแร่ที่สูญเสียไป ในส่วนการป้องกัน เน้นการรักษาความสะอาดในการรับประทาน เช่น ล้างมือทุกครั้งก่อนทานอาหาร ทำความสะอาดภาชนะบรรจุอาหาร เลือกทานอาหารที่ปรุงสุก ไม่วางอาหารทิ้งไว้ในอุณหภูมิห้องนาน ๆ เป็นต้น
  4. โรคปอดบวม ผู้ป่วยจะมีอาการติดเชื้อของทางเดินหายใจส่วนต้นนำมาก่อน ตามมาด้วยอาการไอ และหายใจหอบ ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เจ็บคอ ปวดท้อง เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน ร่วมด้วย สำหรับการรักษา จะดูจากชนิดของเชื้อและความรุนแรง มักรักษาตามอาการของผู้ป่วย ไปพร้อม ๆ กับการป้องกันภาวะแทรกซ้อน ที่จะทำให้อาการปอดบวมทรุดลงได้ ในส่วนของการป้องกัน ให้หลีกเลี่ยงการอยู่ในพื้นที่แออัด ควันไฟ ควันบุหรี่ ใส่หน้ากากอนามัย และฉีดวัคซีนป้องกัน
  5. ภูมิแพ้อากาศ อาการอาจคล้ายกับหวัด แต่สาเหตุและการรักษาแตกต่างกัน โดยภูมิแพ้อากาศ ผู้ป่วยจะมีอาการ จามติดต่อกัน มีน้ำมูกใสไหลตลอดเวลา คันตา จมูก และคอ ระยะอาการของโรคนาน และมีอาการเป็นประจำ ส่วนหวัด จะคัดจมูก น้ำมูกไหล โดยน้ำมูกมีสีเหลือง ไอตลอดวัน ระยะอาการของโรค 1 - 2 สัปดาห์ ที่สำคัญเป็นโรคติดต่อ สำหรับการรักษา การกำจัดและหลีกเลี่ยงสิ่งที่แพ้ และการรักษาด้วยยากินและยาพ่นจมูก ในส่วนของการป้องกันควรหลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้เกิดการแพ้ โดยต้องดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ

 

มา “สุขใจเพราะเราเลือกดูแลกัน” ด้วยการรู้เท่าทัน “เดี๋ยวร้อนเดี๋ยวฝน อากาศเปลี่ยน จะเสี่ยงเป็นโรคอะไรบ้าง” เมื่อไอให้นึกถึงเฟลมเม็กซ์ และเมื่อรู้สึกระคายเคืองในลำคอให้นึกถึง Flemomile สเปรย์สำหรับช่องปากและลำคอนะคะ

 

 

Recent Post

icon-%e0%b9%80%e0%b8%a7%e0%b9%87%e0%b8%9a-aqua-maris-05-9-598icon-%e0%b9%80%e0%b8%a7%e0%b9%87%e0%b8%9a-aqua-maris-05-9-599icon-%e0%b9%80%e0%b8%a7%e0%b9%87%e0%b8%9a-aqua-maris-05-9-5910icon-%e0%b9%80%e0%b8%a7%e0%b9%87%e0%b8%9a-aqua-maris-05-9-5911icon-%e0%b9%80%e0%b8%a7%e0%b9%87%e0%b8%9a-aqua-maris-05-9-5912icon-%e0%b9%80%e0%b8%a7%e0%b9%87%e0%b8%9a-aqua-maris-05-9-5913icon-%e0%b9%80%e0%b8%a7%e0%b9%87%e0%b8%9a-aqua-maris-05-9-5914

Sharing

Facebooktwitterredditpinterestlinkedinmail

Follow Us

Facebooktwitterlinkedinrssyoutube