4 วิธีสั่งน้ำมูกอย่างปลอดภัย
ไข้หวัดคุกคาม น้ำมูกไหลฟืดฟาดกวนใจ สิ่งแรกที่ทุกคนอยากจะทำก็คือสั่งน้ำมูกแรง ๆ ให้จมูกโล่งสักครั้งจริงมั้ยคะ แถมน้ำมูกเจ้ากรรม สั่งเท่าไหร่ก็ดูเหมือนว่าจะมีมาไม่หมดเสียที จากที่ตั้งใจว่าจะสั่งแค่ครั้งเดียว กลับต้องสั่งหลาย ๆ ครั้งจนหูอื้อ งานนี้ก็มึนกันไป บางรายหัวร้อนสั่งแรงจนปวดหัวไปอีก แบบนี้ไม่ดีต่อสุขภาพแน่ ๆ
สั่งน้ำมูกกระเทือนถึงหูชั้นใน
น้ำมูกไหล เป็นอาการที่โพรงจมูกเกิดการอุดตันจากเมือกจำนวนหนึ่งและมักจะเกิดได้บ่อย อาจเกิดจากภูมิแพ้หรือจากโรคอื่น ๆ ที่เป็นอยู่ เช่น โรคหวัด หรืออาจมีสาเหตุจากอาการอื่น ๆ อาทิ น้ำมูกไหลจากการร้องไห้, ร่างกายปรับอุณหภูมิไม่ทัน เป็นต้น ในทางกายภาพ หู คอ จมูก เป็นอวัยวะที่เชื่อมต่อถึงกัน เมื่อเกิดความเปลี่ยนแปลงของความดันภายในรุนแรงอย่างการสั่งน้ำมูก ซึ่งบางคนอาจรู้สึกคัดจมูกหนัก จนเผลอสั่งน้ำมูกสุดแรงเกิด ทำให้หูอื้อได้ บางรายอาจรุนแรงถึงถึงขั้นมีเลือดซึมออกมา ดังนั้นการสั่งน้ำมูกอย่างระมัดระวังจึงสำคัญมาก
สั่งน้ำมูกอย่างไรให้ปลอดภัย
- สั่งทีละข้าง
ควรสั่งน้ำมูกออกจากรูจมูกทีละข้าง โดยใช้นิ้วปิดรูจมูกข้างที่ไม่ได้สั่งไว้ แล้วสั่งน้ำมูกออกจากรูจมูกอีกข้างหนึ่งเบา ๆ ทำแบบนี้จะช่วยให้น้ำมูกไหลออกมาได้ดีขึ้น
- พ่นลมออกมา
แทนที่จะสั่งน้ำมูกสุดแรงเกิด ลองเปลี่ยนมาเป็นหายใจออกยาว ๆ เหมือนการพ่นลมออกมาแทน สำหรับเด็ก ๆ ลองฝึกให้พ่นลมเลียนแบบท่าทางของคุณพ่อคุณแม่ก็ช่วยได้
- ระบายบ่อย ๆ
การปล่อยให้น้ำมูกอัดแน่นเต็มจมูก จนรู้สึกคัดรุนแรง ก็เป็นอีกสาเหตุของการทำให้ต้องสั่งน้ำมูกแรง ๆ ตามไปด้วย ดังนั้นควรทยอยสั่งเรื่อย ๆ เมื่อรู้สึกว่าเริ่มมีน้ำมูกไหลเอ่อออกมาจะดีกว่า - หาสิ่งรองรับ
ไม่ควรสั่งน้ำมูกออกมาโดยไม่กระดาษทิชชู่รองรับ เพราะนอกจากจะทำให้เชื้อโรคมีโอกาสไหลย้อนเข้าสู่ร่างกายทางปากแล้ว ยังแพร่กระจายไปในอากาศสู่ผู้อื่นได้ด้วย และหลังจากสั่งน้ำมูกแล้วควรทิ้งกระดาษทิชชู่ทันทีให้ติดเป็นนิสัย
ทั้ง 4 วิธีการสั่งน้ำมูกนี้จะช่วยให้อาการคัดจมูกของคุณกลายเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้นค่ะ อย่างไรก็ตามการสั่งน้ำมูกแต่ละครั้ง มักจะทำให้โพรงจมูกแห้ง จนรู้สึกระคายเคืองขึ้นมาได้ สเปรย์พ่นจมูก ‘อควา มาริส’ จากสารสกัดน้ำทะเลเอเดรียติก คือตัวช่วย เพิ่มความชุ่มชื้นในโพรงจมูก สามารถบำบัดอาการโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ได้อย่างต่อเนื่องโดยไม่จำกัดระยะเวลา จึงเหมาะกับทุกคนในครอบครัว ทั้งทารก เด็ก และผู้ใหญ่ ในการบรรเทาอาการหายใจลำบาก
Cr. กรมประชาสัมพันธ์