6 กลุ่มอาหารช่วยต้านโรคภูมิแพ้

"โรคภูมิแพ้" เป็นโรคยอดฮิตที่คนส่วนใหญ่ในปัจจุบันป่วยกัน สาเหตุมาจากมลภาวะที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งวิธีการรักษาและการป้องกันมีหลากหลายวิธี ตั้งแต่การทานยา หลีกเลี่ยงตัวกระตุ้นอาการ ออกกำลังกาย
ในวันนี้เราจึงมี 6 กลุ่มอาหารต้านโรคภูมิแพ้มานำเสนอ เป็นอีกหนึ่งทางเลือกของที่เหมาะสำหรับคนที่เบื่อการรักษาแบบเดิม ๆ เป็นวิธีที่ทำให้ร่างกายของคุณดีจากภายใน อยากรู้ว่ามีกลุ่มอาหารอะไรบ้างรีบอ่าน แล้วหามารับประทานกันเลย

1. กลุ่มวิตามินซี : วิตามินซี มีบทบาทในการป้องกันการหลั่งฮีสตามีน ซึ่งเป็นสารสำคัญในร่างกายที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้อากาศ และการแพ้ต่างๆ

อาหารเพิ่มวิตามินซี : ในผักใบเขียว เช่น ตำลึง ผักโขม บร็อคโคลี กะหล่ำปลี ในผลไม้รสเปรี้ยว เช่น สับปะรด ส้ม สตรอเบอรี่ มะนาว โดยวัตถุดิบเหล่านี้สามารถดัดแปลงเมนูได้ตามที่คุณต้องการ

2. กลุ่มวิตามินเอ : ช่วยในเรื่องการสร้างเนื้อเยื่อ และช่วยเสริมสร้างเยื่อบุต่าง ๆ ของร่างกาย ช่วยบรรเทาอาการเมื่อได้รับสารกระตุ้นภูมิแพ้ได้

อาหารเพิ่มวิตามิน : วิตามินชนิดนี้พบมากในกลุ่มผักผลไม้ที่มีสีเขียวเข้ม สีส้ม หรือสีเหลือง เช่น ฟักทอง แครอท มะละกอสุก มะม่วงสุก แคนตาลูป มะเขือเทศ เป็นต้น

3. กลุ่มโปรตีน : โปรตีนกลุ่มนี้สามารถช่วยสร้างภูมิคุ้มกันร่างกายได้ เพราะหน่วยย่อยที่เล็กที่สุดของโปรตีนคือกรดอะมิโน ซึ่งเป็นสารสำคัญในการนำไปสร้างภูมิคุ้มกันต่าง ๆ

อาหารเพิ่มโปรตีน : อย่างที่ทราบกันดี โปรตีนเป็นหนึ่งในอาหารหลัก 5 หมู่ ซึ่งจะมีมากในเนื้อสัตว์ที่เป็นเนื้อล้วน อย่างเนื้ออกไก่ เนื้อหมู และไข่ไก่ นอกจากนี้ก็ยังพบได้ในถั่วต่าง ๆ

4. กลุ่มโอเมก้า 3 : โอเมก้า 3 จะช่วยลดอาการอักเสบ เพิ่มภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย และยังสามารถต่อสู้กับกลุ่มเชื้อโรค หรือสารแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกายได้เป็นอย่างดี

อาหารเพิ่มโอเมก้า 3 : คุณสามารถเลือกทานได้จาก ปลาทะเลน้ำลึก เช่น ปลาทู ปลาทูน่า ปลาแซลมอน ปลากะพง ซึ่งอาหารกลุ่มนี้อาจมีส่วนไปกระตุ้นอาการภูมิแพ้ได้ ดังนั้น ควรตรวจสอบให้แน่นอนก่อนว่าคุณแพ้อาหารทะเลหรือไม่ ส่วนกรดไขมันโอเมก้า 3 ก็มีประโยชน์เช่นกัน พบมากในเมล็ดทานตะวัน เมล็ดฟักทอง ถั่วเหลือง และผักใบสีเขียวเข้ม

5. กลุ่มซีลิเนียม : สารอาหารกลุ่มนี้จะช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายให้ต่อสู้กับสิ่งแปลกปลอม หรือสารกระตุ้นภูมิแพ้ได้

อาหารเพิ่มซีลิเนียม : พบมากในพืชตระกูลหอม เช่น หอมหัวใหญ่ หอมแดง เป็นต้น

6. กลุ่มฟลาโวนอยด์เควอเซทิน : สารชนิดนี้เป็นสารต้านอาการแพ้และลดการอักเสบ ช่วยยับยั้งการปล่อยสารฮิสตามินซึ่งเป็นตัวกระตุ้นอาการภูมิแพ้ได้

อาหารเพิ่มฟลาโวนอยด์เควอเซทิน : พบมากในกระเทียม และพืชตระกูลหอม อย่างหอมหัวใหญ่ หอมหัวแดง และในแครอทผักกาดหอม แอปเปิ้ล เป็นต้น

นอกการทานอาหารต้านโรคภูมิแพ้เหล่านี้แล้ว อย่าลืมออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ และหลีกเลี่ยงตัวกระตุ้นอาการร่วมด้วย เพื่อให้คุณมีร่างกายที่แข็งแรงและไกลโรคอย่างแท้จริง

 

Cr.thaihealth

Recent Post

icon-%e0%b9%80%e0%b8%a7%e0%b9%87%e0%b8%9a-aqua-maris-05-9-598icon-%e0%b9%80%e0%b8%a7%e0%b9%87%e0%b8%9a-aqua-maris-05-9-599icon-%e0%b9%80%e0%b8%a7%e0%b9%87%e0%b8%9a-aqua-maris-05-9-5910icon-%e0%b9%80%e0%b8%a7%e0%b9%87%e0%b8%9a-aqua-maris-05-9-5911icon-%e0%b9%80%e0%b8%a7%e0%b9%87%e0%b8%9a-aqua-maris-05-9-5912icon-%e0%b9%80%e0%b8%a7%e0%b9%87%e0%b8%9a-aqua-maris-05-9-5913icon-%e0%b9%80%e0%b8%a7%e0%b9%87%e0%b8%9a-aqua-maris-05-9-5914

Sharing

Facebooktwitterredditpinterestlinkedinmail

Follow Us

Facebooktwitterlinkedinrssyoutube